top of page

ศิลปะการแสดงลิเก

     ลิเก (ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า ลิเก เพี้ยนมาจากคำว่า ذکر (เษกรฺ) ในภาษาเปอร์เซีย ที่ยืมมาจากคำว่า ذِكْر (ษิกรฺ) ในภาษาอาหรับ อันหมายถึงการอ่านบทสรรเสริญเป็นการรำลึกถึงอัลลอหฺพระเจ้าในศาสนาอิสลาม พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ก็ได้กล่าวถึงลิเกไว้[1] ว่า พวกมุสลิมนิกายชีอะห์ หรือเจ้าเซ็นจากเปอร์เซีย นำสวดลิเกที่เรียกว่า ดิเกร์ เข้ามาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[2] กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ก็ทรงบันทึกว่า ยี่เกนั้น เพี้ยนมาจาก จิเก มีบันทึกว่า พวกแขกเจ้าเซ็นได้สวดถวายตัวในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อพ.ศ.๒๔๒๓ ต่อมาคิดสวดแผลงเป็นลำนำต่าง ๆ คิดลูกหมดเข้าแกมสวด ร้องเป็นเพลงต่างภาษา และทำตัวหนังเชิด โดยเอารำมะนาเป็นจอก็มี ลิเกจึงกลายเป็นการเล่นขึ้น ต่อมามีผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ

และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร

                                                                                                                             *******************************

     ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยงานหลักดำเนินกิจกรรมมหกรรมนาฏดนตรี เปิดตำนาน

การแสดงลิเก ภายใต้โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนา ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน และอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน เผยแพร่ศิลปะการแสดงลิเก การแสดงพื้นบ้าน สร้างสรรค์เศรษฐกิจและวิถีชีวิตชุมชน โดยได้บูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ประกอบด้วย กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์

พิธีบวงสรวงบูรพกษัตริยาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา การสืบสานประเพณีพิธีไหว้ครูลิเก และจัดการแสดงมหกรรมลิเก ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๕ ซึ่งส่วนหนึ่งได้จัดทำนิทรรศการองค์ความรู้เกี่ยวกับลิเก ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ยุคสมัย นำไปตั้งแสดงในงานเพื่อเป็นการสืบสาน อนุรักษ์ ส่งเสริม ศิลปะการแสดงลิเก เพื่อนำแสดงในงานด้วย

ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน"

bottom of page